Wednesday, August 11, 2010

เยาวชนรุ่นใหม่กับการเรียนรู้ปรัชญา : ความสำเร็จของวงการศึกษาไทย

บทความคัดลอกจาก: http://www.crtvnews.com/node.php?id=313

เยาวชนรุ่นใหม่กับการเรียนรู้ปรัชญา : ความสำเร็จของวงการศึกษาไทย


2010-08-10 23:13:43

ใน ปัจจุบันการเรียนการสอนในโรงเรียนเป็นปัญหาทั้งระดับชาติ ระดับโรงเรียน และระดับครอบครัวทั้งนี้ เนื่องจากการเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้สภาพแวดล้อมทางสังคมเปลี่ยนแปลงไป

ผลจึงมีโดยตรงต่อเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่มุ่งเน้นการเสพสื่อจากเทคโนโลยีสารสนเทศมากกว่าเสพสุขจากการเรียนรู้ด้วยตนเอง

บังเอิญผู้เขียนได้พบผลงานของนักเรียนระดับ ม. 2 ของโรงเรียนสาธิต ม.รามคำแหง ซึ่งได้สะท้อนประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการเรียนการสอน และประสิทธิผลของการเลี้ยงดูจาก

ครอบครัว ทำให้เด็กผู้ชายในยุคที่เทคโนโลยีก้าวหน้า แต่จิตวิญญาณเสื่อมโทรม สามารถวิเคราะห์ชิ้นงานได้อย่างน่าชื่นชม

เรียนท่านผู้อ่านว่าปรัชญาชนโกโรโกโสอย่างผู้เขียนอ่านงานวิเคราะห์ของเด็กชายคนนี้แล้ว อยากมอบรางวัลแห่งความเป็น “พลเมือง”

ในฐานะ “นักคิดที่มีตรรกแห่งเหตุผล” ให้เป็นรางวัลของความชื่นชม และมอบรางวัลข้างเคียง 2 รางวัล เหมือนกับลอตเตอรี่ ให้กับ “คุณครู”

ผู้สร้างรากฐานทรัพยากรทางความคิด แห่งสำนักการศึกษา “โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง” พร้อมกับ “คุณแม่และคุณพ่อ”

ในฐานะผู้ก่อกำเนิดทรัพยากรมนุษย์ที่มาพร้อมกับทรัพยากรทางความคิดที่มีคุณภาพ

เบื้องหลังเท่าที่ทราบ เด็กชายคนนี้ เชี่ยวชาญคอมพิวเตอร์ มีความชอบและถนัดเป็นพิเศษในการวาดภาพโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็น อุปกรณ์สมัยใหม่ ซึ่งโดยทั่วไปเด็กประเภทนี้ จะไม่ชอบอ่านหนังสือ เขียนหนังสือไม่เก่ง โดยเฉพาะการเรียงความหรือการต้องวิเคราะห์ด้วยวิธีการเขียน แต่ผลงานที่เขาวิเคราะห์ออกมา ท่านลองทัศนาดูนะครับว่า เด็กผู้ชายคนนี้ ทราบว่าชื่อ “มาวิน” ได้สะท้อนความคิดในเชิงปรัชญาได้อย่างรอบด้าน คือ มองสรรพสิ่งด้วยเหตุ ด้วยผล และเชื่อมโยงทุกสิ่งเป็น องค์รวม ซึ่งท่านพุทธทาส ภิกขุ ท่านได้ชี้แนะแนวทางของการศึกษาว่า

“เรียนอะไร ถ้าเรียน อย่างปรัชญา

ที่เทียบกับ คำว่า ฟิโลโซฟี่ส์

ยิ่งพลาดจาก ธรรมะ ที่ควรมี

เพราะเหตุที่ ยิ่งเรียนไป ยิ่งไม่ซึม

เพราะเรียนอย่าง คำนวณสิ่ง ไม่มีตัว

สมมุติฐาน เอาในหัว อย่างครึ้มครึ่ม

อุปมาณ อนุมาณ สร้างทึมทึม

ผลออกมา งึมงึม งับเอาไป

เรียนธรรมะ มีวิถี วิทยาศาสตร์

มีตัวธรรม ที่สามารถ เห็นชัดใส

ไม่คำนวณ หากแต่มอง ลองด้วยใจ

ส่องลงไป ตามที่อาจ ฉลาดมอง

จะส่วนเหตุ หรือส่วนผล ผลประจักษ์

เห็นตระหนัก ว่าอะไร อย่างไรสนอง

แก่คำถาม แจ้งถนัด ชัดทำนอง

ตามที่ต้อง ปฏิบัติ ชัดลงไปฯ”

ท่านผู้อ่านครับ หากท่านได้รับคำถามนี้ ท่านจะวิเคราะห์อย่างไร โดยใช้หลักการมองทางปรัชญาที่ผู้เขียนเกริ่นไว้ตอนต้น

คำถาม มีต้นแอปเปิ้ลสูงเท่ากับเสาธงของโรงเรียนและมีผลแอปเปิ้ลผลเดียวที่สูงเท่า กับธงชาตินักเรียนจะทำอย่างไรที่จะได้ทานผลแอปเปิ้ลนั้นโดยไม่ตัดต้น แอปเปิ้ล โดยให้คำว่า “มีความพยายามอยู่ไหน ความสำเร็จจะอยู่ที่นั่น”

พอจะตอบบทวิเคราะห์ในใจกันได้ใช่ไหมครับ เราลองมาดูผลงานของ “มาวิน” นักเรียนชั้น ม.2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหงดูกันครับเขาตอบโจทย์เรื่องนี้อย่างไร

“มาวิน “วิเคราะห์ว่า “มี้บอกว่าถ้าเอาไม้ยาว ๆ มาเขี่ยคงหักตั้งแต่ตอนยกแล้ว และถ้าต่อตัวกันคงล้มตั้งแต่สามคนแรกแล้วล่ะ

ผมเลยคิดว่าเอาหนังสติ๊กมายิงใส่ลูกแอปเปิ้ลครับเพราะวิธีอื่นเช่นปีนขึ้นไปเก็บเอง แล้วเกิดพลัดตกลงมา คงซี้แหงแก๊แน่เลยครับ

หรือถ้าเราใจเย็นมาก หรือมีเวลาว่างมากนักก็รอมันจนกว่าจะร่วงลงมา แบบนั้นคงเสียเวลาแย่เลย ผมเลยคิดว่าเอาหนังสติ้กยิงให้โดนดีกว่า แต่ถ้า เธอไปไม่ถึงก็คงเอาปืนซุ่มยิงมาสอยให้ร่วง หรือนั่งฮอ (หมายถึงเฮลิคอปเตอร์) ไปเก็บมั้งครับ อันนี้ประชดนะฮะ ถ้ามีวิธีอื่นอีกก็ช่วยบอกกันด้วยนะครับ

1. การที่เราจะเก็บแอปเปิ้ลจากยอดนั้นโดยวิธีต่าง ๆ จะเปรียบเสมือนความพยายามอดทนของมนุษย์ ถ้าเรามีความอดทน พยายาม

เราก็จะสามารถทำความตั้งใจให้สำเร็จได้เปรียบกับคนไทยในปัจจุบัน ที่ไม่มีความพยายาม ดีแต่ทางอ้อมเพื่อความสำเร็จ

2. เมื่อเราเก็บลูกแอปเปิ้ลได้แล้ว เราจะเอาไปทำอะไรต่อก็เปรียบเสมือน ความมีเมตตาต่อคนอื่น ถ้าเราแบ่งคนอื่น

ภายหลังคนอื่นมีอะไรจะมาแบ่งเรา แต่ถ้าเรางกไปภายหลังคนอื่นมีอะไรก็จะไม่แบ่งเรา เปรียบเหมือนคนไทยในปัจจุบันที่ไม่มีการแบ่งปัน

3. ต้นแอปเปิ้ลเปรียบเสมือนคนเรา รากเปรียบเทียบถึงรากฐานความดีความชั่วที่มีการปลูกฝังตั้งแต่เล็กลำต้น เปรียบถึงความรู้การศึกษาที่เพิ่มขึ้นและเยอะขึ้น ยากขึ้นทำให้เราเติบโตขึ้นต่อไปกิ่งเปรียบเสมือนสมองของคนเราที่แตกกิ่งสาขา ไปเรื่อยมีการพัฒนาสมองไปเรื่อย ๆ ไม่มีที่สิ้นสุด ใบหมายถึงอายุของคนเราที่ตอนเด็กยังติดพ่อแม่แต่พอโตขึ้นก็อยากห่างพ่อแม่ เปรียบกับใบไม้ที่ปลิวจากต้น ผล เปรียบกับความสำเร็จในชีวิตของคนเรา ถ้าคนเราไม่มีความพยายามกับชีวิตก็ไม่สามารถมีผลได้

เมล็ดเปรียบเหมือนลูกหลานของเราถ้าชีวิตไม่ค่อยดีเท่าไร ก็จะทำให้ลูกหลานเป็นตามไปด้วย ดั่งลูกแอปเปิ้ลเน่า เมล็ดก็คงเน่า แต่ต้นไม้ขาด 3 สิ่งนี้

ก. น้ำ – สิ่งที่ทุกคนขาดไม่ได้ ถ้าขาดก็ตายอยู่ไม่ได้

ข. ปุ๋ย – ความรู้ที่เราได้รับเพื่อจะเจริญเติบโตต่อไปข้างหน้า

ค. สภาพแวดล้อม – สภาพความเป็นอยู่ของสถานที่ ถ้าสถานที่ปลูกไม่ดีต้นไม้ก็โตได้ไม่ค่อยดี หรือ

ไม่โตเลย”

ท่านผู้อ่านเห็นไม่ครับ โจทย์ตั้งว่าจะเอาผลแอปเปิ้ลมารับประทานได้อย่างไร เขาได้ใช้ความคิดโดยนำเอาสิ่งใกล้ตัวสำหรับเด็กผู้ชายที่ใช้ได้

แน่นอนสังคมไทย ต้องใช้ “หนังสติ๊ก” แต่เนื่องจากเขาเพิ่งผ่านเหตุการณ์ชุมนุมที่ต้องหยุดเรียนหลายวันเพื่อให้ สถานการณ์ “กระชับพื้นที่”

เพื่อสอยแกนนำ นปช. เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เขาเลือกที่จะแสดงอารมณ์ขันด้วยการ เสนอแนะว่าเอาเครื่องมือกระชับพื้นที่

คือ “เฮลิคอปเตอร์” กับ “สไนเปอร์” มาซุ่มยิงแทน (อยากจะ ฮา ดัง ๆ ให้รองนายกสุเทพ ผอ.ศอฉ. และนายกอภิสิทธิ์ ได้ยินจังว่าเด็ก ๆ

เขาคิดอย่างไรกับเรื่องราวที่ผ่านมา)

ครั้นเมื่อถึงบทวิจารณ์อย่างเอาจริง ปรัชญาที่ถูกซ่อนภายในต้นแอปเปิ้ลนั้น ถูกถอดรหัสปรัชญาว่าอย่างมีระบบ ตั้งแต่

ประการที่ 1 หลักของความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น “การที่เราจะเก็บแอปเปิ้ลจากยอดนั้นโดยวิธีต่าง ๆ

จะเปรียบเสมือนความพยายามอดทนของมนุษย์ ถ้าเรามีความอดทน พยายาม เราก็จะสามารถทำความตั้งใจให้สำเร็จได้เปรียบกับคนไทยในปัจจุบัน

ที่ไม่มีความพยายาม ดีแต่ทางอ้อมเพื่อความสำเร็จ”

ประการที่ 2 หลักความมีเมตตา “ เมื่อเราเก็บลูกแอปเปิ้ลได้แล้ว เราจะเอาไปทำอะไรต่อก็เปรียบเสมือน ความมีเมตตาต่อคนอื่น

ถ้าเราแบ่งคนอื่น ภายหลังคนอื่นมีอะไรจะมาแบ่งเรา แต่ถ้าเรางกไปภายหลังคนอื่นมีอะไรก็จะไม่แบ่งเรา

เปรียบเหมือนคนไทยในปัจจุบันที่ไม่มีการแบ่งปัน”

ประการที่ 3 หลักสัจธรรมแห่งชีวิต “ต้นแอปเปิ้ลเปรียบเสมือนคนเรา รากเปรียบเทียบถึงรากฐานความดีความชั่วที่มีการปลูกฝังตั้งแต่เล็ก

ลำต้นเปรียบถึงความรู้การศึกษาที่เพิ่มขึ้นและเยอะขึ้น ยากขึ้นทำให้เราเติบโตขึ้นต่อไป

กิ่งเปรียบเสมือนสมองของคนเราที่แตกกิ่งสาขาไปเรื่อยมีการพัฒนาสมองไปเรื่อย ๆ ไม่มีที่สิ้นสุด

ใบหมายถึงอายุของคนเราที่ตอนเด็กยังติดพ่อแม่แต่พอโตขึ้นก็อยากห่างพ่อแม่ เปรียบกับใบไม้ที่ปลิวจากต้น

ผล เปรียบกับความสำเร็จในชีวิตของคนเรา ถ้าคนเราไม่มีความพยายามกับชีวิตก็ไม่สามารถมีผลได้

เมล็ดเปรียบเหมือนลูกหลานของเราถ้าชีวิตไม่ค่อยดีเท่าไร ก็จะทำให้ลูกหลานเป็นตามไปด้วย ดั่งลูกแอปเปิ้ลเน่า เมล็ดก็คงเน่า

แต่ต้นไม้ขาด 3 สิ่งนี้ (ก.) น้ำ – สิ่งที่ทุกคนขาดไม่ได้ ถ้าขาดก็ตายอยู่ไม่ได้(ข.) ปุ๋ย – ความรู้ที่เราได้รับเพื่อจะเจริญเติบโตต่อไปข้างหน้า

(ค.) สภาพแวดล้อม – สภาพความเป็นอยู่ของสถานที่ ถ้าสถานที่ปลูกไม่ดีต้นไม้ก็โตได้ไม่ค่อยดี หรือไม่โตเลย”

ท่านผู้อ่านครับ ปรัชญาชนโกโรโกโสอย่างผู้เขียน ขอคารวะความคิดของเด็กชายคนนี้ ด.ช. คณิติน ชูชาติ ม.2/9 เลขที่ 21 รหัส 52348

แห่งโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่มี ผศ.เสาวนีย์ หยกเล็ก (กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา และพลศึกษา ) เป็นผู้ดูแลเยาวชนคนนี้

อยากฝากไปถึง “ครูรังสรรค์ แสงสุข” (อดีตอธิการบดี) และ “ครูคิม ไชยแสนสุข (อธืการบดีคนปัจจุบัน) ว่า “ผลผลิตคุณภาพ” ตามแนวคิดของท่านเกิดขึ้น และงอกงามอย่างสมบูรณ์แล้วครับ.

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More