Thursday, May 31, 2007

30 พฤษภาคม 2550 พิพากษายุบพรรค วันประวัติศาสตร์การเมืองไทย

ผมเองไม่มีความรู้เรื่องกฏหมายอะไรมากมาย เพราะไม่ได้จบการศึกษาหรือเชื่ยวชาญด้านกฏหมาย และผมก็ไม่มีความยินดีหรือยินร้ายที่จะให้ยุบพรรคการเมืองพรรคใดพรรคหนึ่งเป็นการเฉพาะ แต่สิ่งที่ผมอยากเห็นก็คือการพิจารณาใช้กฏหมาย ที่มีเหตุมีผล และยุติธรรมเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฏหมายที่บัญญัติไว้ เพื่อให้ผู้ที่กระทำความผิด ได้รับผลแห่งการระทำนั้น

Thursday, May 24, 2007

ผลิตภัณฑ์ของบริษัท แอ๊บบอต ที่คนไทยควรเลิกใช้

ผลิตภัณฑ์ Abbott ประกอบด้วย

1. กลุ่มยาและเวชภัณฑ์ เช่น ยาปฏิชีวนะ Abbotic@ (clarithromycin) และ Brufen@ (ibuprofen) ยาลดไขมัน Raductil@(sibutramine HCl monohydrate) ยารักษาโรคไต Zemplar@ (paricalcitol) ยารักษาโรคไมเกรน Valcote@ (divalproex sodium) ยารักษาโรคไขมันในเลือดสูง TriCor@ (fenofibrate tablets) ยารักษาโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ Synagis@ (palivizumab)

2.ผลิตภัณฑ์ เสริมอาหาร และนมสำหรับทารกและเด็ก เช่น เอนชัวร์ (Ensure) พีเดียชัวร์ (PaediaSure) ซิมิแลค (Similac) โซนเพอร์เฟคท์ (ZonePerfect)

3.ผลิต ภัณฑ์เพื่อสุขภาพสัตว์เลี้ยง เช่น แอลฟาแทรค (AlphaTRAK) คลินิแคร์ (CliniCare) ไกลโค-เฟล็กซ์ (GLYCO-FLEX) ไอโซโฟล (isoflurane) และ

4.อุปกรณ์ และเครื่องมือแพทย

แฉความจริงกรณี “แอ๊บบอต” ก็ต้องการซีแอล

แฉความจริงกรณี “แอ๊บบอต” ก็ต้องการซีแอล
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 24 พฤษภาคม 2550 07:51 น.

ขณะที่บริษัทยายักษ์ใหญ่แอ๊บบอต ได้วิจารณ์การประกาศบังคับใช้สิทธิบัตรยาของรัฐบาลไทยอย่างรุนแรง แต่แท้ที่จริงแล้ว แอ๊บบอตกลับดำเนินการบังคับใช้สิทธิบัตรในขณะเดียวกัน

ในวันที่ 12 มกราคม 2550 แอ๊บบอตแพ้คดีในศาลเขตวิสคอนซินตะวันตก สำหรับการบังคับใช้สิทธิบัตรซึ่งบริษัทอินโนเจเนติก (Innogenetics, Inc.) เป็นเจ้าของสิทธิบัตร คณะลูกขุนและผู้พิพากษาตัดสินว่า แอ๊บบอตละเมิดสิทธิบัตรโดยการทำการผลิต และจำหน่ายอุปกรณ์ตรวจจีโนไทพ์ของไวรัสตับอักเสบ C

แอ๊บบอตอ้างการบังคับใช้สิทธิเพื่อหลีกเลี่ยงคำสั่งบังคับคดีให้แอ๊บ บอตยุติการใช้สิทธิบัตรโดยที่บริษัทอินโนเจเนติกผู้เป็นเจ้าของไม่ได้อนุญาต ในการนี้แอ๊บบอตอ้างเกณฑ์คำตัดสินของศาลสูงสหรัฐ ตัดสินกรณีระหว่างบริษัทอีเบย์ กับเมิร์คเอ็กซ์เชนจ์ (eBay Inc v. MercExchange, L.L.C.,) เมื่อเดือนพฤษภาคม 2549 ส่งผลให้การขอคำสั่งบังคับคดีเพื่อระงับการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิ ทำได้ยากขึ้น เมื่อศาลมีคำสั่งให้ผู้ละเมิดจ่ายค่าตอบแทนที่เป็นธรรม หรือสร้างความเสียหายเพียงเล็กน้อยต่อประโยชน์สาธารณะ

คำว่าการบังคับใช้สิทธิถูกใช้ในการอธิบายความหมายของมาตรการทางกฎหมา ยต่าง ๆ ซึ่งให้ความชอบธรรมในการใช้สิทธิบัตรโดยที่เจ้าของสิทธิบัตรไม่สมัครใจ ตัวอย่างเช่น การใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะโดยรัฐบาลที่เป็นไปตามข้อบทกฎหมายสิทธิบัตร ดังกรณีประเทศไทยบังคับใช้สิทธิบัตรยาส่วนผสมระหว่างโลปินาเวียและริโทนาเวี ย ของแอ๊บบอต เพื่อเยียวยาปัญหาที่เกิดจากการผูกขาด หรืออย่างกรณีที่ประเทศอิตาลีมีการบังคับใช้สิทธิบัตรถึง 3 ครั้งในปี 2548, 2549 และปี 2550 ในประเทศแอฟริกาใต้มีกรณีที่มีการปฏิเสธสิทธิบัตรและการตั้งราคาสูงเกินควร หรือการบังคับใช้สิทธิเพื่อการสาธารณสุข และบนพื้นฐานประโยชน์สาธารณะ นอกจากนี้การบังคับใช้สิทธิยังใช้อธิบายความรวมไปถึง กรณีที่ศาลได้รับคำร้องจากจำเลยในคดีการละเมิดสิทธิบัตร ขอให้ศาลสั่งให้จำเลยมีสิทธิใช้สิทธิบัตรนั้นโดยถูกต้องโดยให้จำเลยจ่าย ค่าธรรมเนียมสิทธิบัตรตามที่ศาลเห็นชอบ

ศาลเขตวิสคอนซินตะวันตกปฏิเสธคำร้องของแอ๊บบอตที่ขออำนาจศาลให้มีคำส ั่งให้แอ๊บบอตใช้สิทธิบัตรของอินโนเจเนติกได้โดยถูกต้อง และศาลยังมีคำสั่งให้แอ๊บบอตยุติการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สิทธิบัตรดังกล่ าวในวันที่ 12 มกราคม 2550 แต่แอ๊บบอตได้รับการผ่อนผันการบังคับคดี ในวันที่ 19 มกราคม 2550 และได้เริ่มดำเนินการอุทธรณ์ในระดับที่สูงกว่าศาลเขต คือระดับรัฐ ไม่กี่วันถัดมา ในวันที่ 29 มกราคม 2550 กระทรวงสาธารณสุขของไทย ได้ประกาศว่าจะบังคับใช้สิทธิในยาคาเลตตร้าของแอ๊บบอต ณ เวลานั้นแอ๊บบอตก็ดำเนินกระบวนการอุทธรณ์ในกรณีบังคับใช้สิทธิของ ตัวเองพร้อมไปกับระดมสรรพกำลังการโฆษณาประชาสัมพันธ์โจมตีกระทรวงสาธารณสุขไ ทย

ไม่ปรากฎว่าในรายงานข่าวที่เกี่ยวกับ การบังคับใช้สิทธิของประเทศไทย กล่าวถึงการที่แอ๊บบอตพยายามที่จะขอการบังคับใช้สิทธิแม้แต่ชิ้นเดียว

แอ๊บบอตพยายามป้องกันมิให้อินโนเจเนติกได้รับคำสั่งบังคับคดี โต้แย้งว่าศาลควรจะอนุมัติให้แอ๊บบอตได้ใช้สิทธิบัตรแบบ เจ้าของไม่สมัครใจ (non-voluntary authorization) โดยอ้างเกณฑ์คำตัดสิน 4 ประเด็น จากคำตัดสินของศาลสูงแห่งสหรัฐอเมริกา ในคดีอีเบย์และเมิร์คเอ็กซ์เชนจ์ เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2549 ที่กล่าวว่า ก่อนที่ศาลจะมีการอนุมัติคำสั่งบังคับคดี เพื่อควบคุมพฤติกรรมละเมิด สิทธิบัตร ผู้ยื่นคำร้องขอบังคับคดีต้องแสดงให้เห็นว่า ตนได้รับความเดือดร้อนร้ายแรงเกินกว่าจะแก้ไขให้คืนสภาพเดิมได้ มาตรการเยียวยาทางกฎหมายใด ๆ รวมถึงการจ่ายค่าธรรมเนียม สิทธิบัตร ไม่เพียงพอที่จะชดเชยความเสียหายนั้นได้ เมื่อพิจารณาน้ำหนักความเดือดร้อนของจำเลยและโจทก์แล้ว มีหลักประกันการแก้ไขเยียวยาที่เป็นธรรม และผลประโยชน์สาธารณะไม่ได้รับความเสียหายจากคำสั่งบังคับคดีถาวร

ในการต่อสู้คดีในศาลเขตเพื่อยับยั้งคำสั่งบังคับคดี และขอให้ศาลอนุมัติการบังคับใช้สิทธิ แอ๊บบอตโต้แย้งว่า “เจ้าของสิทธิบัตรย่อมได้รับการคุ้มครองสิทธิโดยการได้รับค่าธรรมเนียม สิทธิบัตร และผลประโยชน์สาธารณะจะได้รับความเสียหาย อย่างใหญ่หลวงหากผู้ป่วยจากไวรัส Hepatitis C ไม่สามารถเข้าถึงบริการจากผลิตภัณฑ์ของแอ๊บบอต” กระบวนพิจารณาระดับรัฐได้ยกเลิกคำสั่งชะลอการบังคับคดีของแอ๊บบอต เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2550 อย่างไรก็ตามแอ๊บบอตยังคงเดินหน้าอุทธรณ์ต่อไป

กลับมาที่ในกรณีของประเทศไทย ยาคาเลตตร้าของแอ๊บบอต ซึ่งเป็นส่วนผสมของ โลปินาเวียร์และริโทนาเวียร์ ถูกคิดค้นขึ้นโดยแอ๊บบอตด้วยการสนับสนุนเงินทุนจากรัฐบาลสหรัฐฯ ในการนี้ยาสูตรผสมดังกล่าวที่เรียกว่า LPV/r ได้ทำเงินรายได้หลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แก่แอ๊บบอต

เดือนมกราคม 2550 ก่อนที่ไทยประกาศว่าจะบังคับใช้สิทธิ ข้อมูลจากรายงานต่าง ๆ ระบุว่าแอ๊บบอตตั้งราคายาคาเลตตร้าไว้ที่อัตรามากกว่า 11,500 บาทต่อเดือน หรือเกือบ 4,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี เป็นราคาที่สูงเกินกว่ารัฐบาลของประเทศซึ่งมีจำนวนผู้ติดเชื้อจำนวนมากอย่าง ประเทศไทยจะแบกรับไหว

ในวันที่ 29 มกราคม 2550 รัฐบาลไทยจึงได้ตัดสินใจประกาศบังคับใช้สิทธิในยาคาเลตตร้าของแอ๊บบอต หลังจากที่ได้ประกาศบังคับใช้สิทธิในยาอีก 2 ตัวก่อนหน้า (เอฟฟาวิเรนซ์ของเมิร์ค และโคพิโดเกรล ของซาโนฟี่) และนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โฆษณาประชาสัมพันธ์แบบเงินหนา และขบวนการโจมตีของล๊อบบี้ยิสต์ก็เริ่มต้นขึ้น พร้อมด้วยกลุ่มสนับสนุนอุตสาหกรรมยาต่าง ๆ และพลพรรคที่ปรึกษาที่ได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากอุตสาหกรรมยา ตลอดจนบรรดาที่เรียกตัวเองว่าผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายก็พากันเรียงหน้าออกมาถล่ มกระทรวงสาธารณสุข และรัฐบาลไทย

ในวันที่ 14 มีนาคม 2550 เรื่องราวที่ปรากฎในการรายงานของนิตยสารวอลล์สตรีทเจอนัล แอ๊บบอตทำการตอบโต้อย่างดุเดือดโดยการประกาศถอนการขึ้นทะเบียนยาใหม่ 7 ตัว ในจำนวนนี้รวมถึงยาคาเลตตร้ารูปแบบใหม่ จากตลาดในประเทศไทย

มีการอ้างถึงคำกล่าวโฆษกของแอ๊บบอตที่ว่า เป็นเพราะรัฐบาลไทย “ตัดสินใจที่จะไม่สนับสนุนนวัตกรรมโดยการละเมิดสิทธิบัตร แอ๊บบอตก็จะไม่ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนยาตัวใหม่ และจะถอนคำขอขึ้นทะเบียนยาที่ได้ยื่นไปแล้ว จนกว่ารัฐบาลไทยจะเปลี่ยนท่าที”

แอ๊บบอตได้ทำการถอนคำขอขึ้นทะเบียนยาใหม่ 7 ตัว ซึ่งรวมถึงยาคาเลตตร้ารูปแบบใหม่ อ้างถึงคำพูดของนางสโมเตอร์ โฆษกของแอ๊บบอตว่า แอ๊บบอตได้แจ้งเรื่องการเพิกถอนคำขอขึ้นทะเบียนยาแก่รัฐบาลไทยล่วงหน้า 2-3 อาทิตย์ หลังจากที่การหารือระหว่างทั้งสองฝ่ายล้มเหลวลง

ในวันที่ 10 เมษายน 2550 แอ๊บบอตประกาศลดราคายาคาเลตตร้า และยารูปแบบทนอากาศร้อนที่วางตลาดในชื่อ อลูเวีย เหลือ 1,000 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อคนต่อปี สำหรับการใช้โดยองค์กรเอกชน และรัฐบาลใน 40 ประเทศทั่วโลก เพื่อจะสู้กับการแข่งขันของยาสามัญจากอินเดีย แอ๊บบอตอ้างว่าการหั่นราคายาดังกล่าวเป็นผลจากข้อตกลงกับองค์การอนามัยโลก ซึ่งก็ได้ออกมาแถลงชื่นชมการกระทำดังกล่าวของแอ๊บบอต

อย่างไรก็ตามการลดราคาไม่ได้มีผลโดยอัตโนมัติ หากแต่ยังมีเงื่อนไขราคาที่ 1,000 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อคนต่อปี นั้นแพงกว่าราคาเสนอเบื้องต้นของบริษัทยาสามัญซึ่งอยู่ที่ประมาณ 300 ดอลลาร์สหรัฐฯ หากบริษัทยาสามัญสามารถปรับปรุงกระบวนการผลิต และผลิตในจำนวนมาก ๆ ราคาก็จะถูกลงอีก

แอ๊บบอตยังคงกล่าวว่าจะไม่ขึ้นทะเบียนยาตัวใหม่ รวมถึงยาคาเลตตร้ารูปแบบทนอากาศร้อน ที่ชื่อว่าอลูเวีย นอกเสียจากว่าประเทศไทยจะยอมยกเลิกการบังคับใช้สิทธิ

ตลอดระยะเวลาที่ข้อพิพาทดำเนินไปนั้น ไม่เคยมีใครหยิบยกเอาวาจาเกรี้ยวกราดต่อการบังคับใช้สิทธิของไทยของแอ๊บบอต มาเป็นข้อเรียกร้องต่อแอ๊บบอตให้ต้องประนีประนอมการบังคับใช้สิทธิบัตรของบร ิษัทอินโนเจเนติก

เรื่อง....เจมส์ เลิฟ (James Love)
ผู้อำนวยการ Knowledge Ecology International ซึ่งเป็นองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคด้านทรัพย์สินทางปัญญา ตั้งอยู่ที่วอชิงตัน


ที่มา: http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9500000059442

Wednesday, May 9, 2007

กำลังเขียน use case summary อยู่ดีๆ คิดไม่ออก ก็เลยมาสร้าง blog ซะงั้น

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More